212/9 Zentara City ถนนชาตะผดุง ในเมือง เมือง ขอนแก่น  Mon-Fri: 17:30-19:30 / Sat:9.00-13.00   063-8963595, 061-6541962

โรคซึมเศร้า

  • Home
  • โรคซึมเศร้า

อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ รู้สึกอ่อนเพลีย เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง ตำหนิตัวเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย

โรคซึมเศร้า อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ รู้สึกอ่อนเพลีย เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง ตำหนิตัวเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย

รู้ได้อย่างไรว่าบุคคลใกล้ตัวเสี่ยง
หากพบบุคคลใกล้ตัวมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ให้ระวังว่ามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
1.พฤติกรรม สีหน้าเศร้าหมอง เคลื่อนไหวช้า พูดน้อย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด พยายามทำร้ายตัวเองใช้สารเสพติด ดื่มสุรา ไม่อยากทำงาน ไม่สนใจเรื่องเพศ แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม นอนน้อยหรือมากเกินไป
2. ด้านความคิดและอารมณ์ มีความคิดอยากตาย ตำหนิโทษตัวเอง คิดแต่เรื่องเก่าๆเกี่ยวกับปัญหาของตนเองซ้ำซากหาทางแก้ไม่ได้ สับสนเกิดความเหงา เศร้า ท้อแท้ หมดหวัง ร้องให้บ่อย ๆ โดยไม่มีสาเหตุ รู้สึกผิดหวังและคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า โกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผล เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย หรืออารมณ์ดีขึ้นจนผิดสังเกตจากที่เคยมีอารมณ์เศร้าเนื่องจากคิดแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย
3. ด้านคำพูด พูดถึงความตายหรือพูดแบท้อแท้หมดหวัง วิธีการตาย การเป็นภาระของคนอื่น สั่งเสียกับคนใกล้ชิด เช่น ฉันไม่อยากมีชีวิตอยู่ ฉันอยากหลับแล้วไม่ตื่น อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่จะเป็นภาระของคนอื่น ใครๆ คงอยากให้เขาตายไปเสียให้พ้น อยู่ไปชีวิตก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ฝากฝังของรักให้คนอื่นดูแล ขออโหสิกรรม เขียนจดหมายลาตาย ทำพินัยกรรมยกสมบัติให้ผู้อื่น หรือเตรียมอุปกรณ์ที่สามารถปลดชีวิตตัวเองได้

หากคุณพบคนใกล้ตัวมีสัญญาณดังกล่าวและผู้นั้นอาจจะฆ่าตัวตายทันที สิ่งที่พึงกระทำคือ คุณควรซักถามเขาโดยใช้คำพูดของเขาเองขอความกระจ่าง โดยถามให้ละเอียดและตรงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการขอข้อมูล เพื่อนำมาประเมินความเสี่ยงและวางแผนให้ความช่วยเหลือต่อไป ไม่ใช่การตำหนิ

 

➤ โรคปวดศีรษะจากความเครียด

ชื่อภาษาไทย : โรคปวดศีรษะจากความเครียด โรคปวดศีรษะแบบตึงเครียด
ชื่อภาษาอังกฤษ : Tension-type headache (TTH), Tension headache, Muscle contraction headache, Psychogenic headachen

โรคปวดศีรษะจากความเครียด เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ มักจะมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเป็นวันๆ จนถึงเป็นสัปดาห์ หรือเป็นแรมเดือน โดยจะปวดพอรำคาญ หรือทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย และจะปวดอย่างคงที่ ไม่แรงขึ้นกว่าวันแรกๆ ที่ปวด จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง

สาเหตุ  : อาการปวดศีรษะของผู้ป่วยโรคนี้เป็นผลมาจากมีการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้า ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุและกลไกของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากมีสิ่งเร้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทขึ้นตรงประสาท ส่วนกลาง (อาจเป็นบางส่วนของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่เลี้ยงบริเวณศีรษะและใบหน้า) แล้วส่งผลกลับมาที่กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าว รวมทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี (เช่น เอนดอร์ฟิน ซีโรโทนิน) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

ส่วนใหญ่มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความ เครียด หิวข้าวหรือกินข้าวผิดเวลา อดนอน ตาล้าตาเพลีย (จากใช้สายตามากเกิน)
นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรควิตกกังวล ซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือการปรับตัว บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคปวดศีรษะไมเกรน

การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากลักษณะอาการ และประวัติเกี่ยวกับความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ การคร่ำเคร่งกับงาน
นอกจากมีอาการไม่ชัดเจนและสงสัยเป็นโรคเกี่ยว กับสมอง จึงจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพ สมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ผู้ป่วยและญาติจึงควรบอกเล่าประวัติ และอาการ เจ็บป่วยอย่างละเอียด เช่น ปัญหาครอบครัว (สามีมีภรรยาน้อย เล่นการพนัน การทะเลาะกัน) ปัญหาการงาน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้อง และไม่หลงไปส่งตรวจพิเศษให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น

การรักษา
แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ยาบรรเทาปวดร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาท
ถ้าพบว่ามีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาภาวะเหล่านี้ไปพร้อมกัน และอาจให้การ รักษาด้วยวิธีอื่นร่วมไปด้วย เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า การฝังเข็ม เป็นต้น
ในรายที่มีอาการกำเริบมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจให้ ผู้ป่วยกินยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน หรือฟลูออกซีทีน ทุกวันติดต่อกันนาน 1-3 เดือน

ภาวะแทรกซ้อน
โรคนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้วิตกกังวล ไม่สุขสบาย และอาจสิ้นเปลืองเงินทองและเวลาในการแสวงหาบริการ ซึ่งผู้ป่วยและญาติมักคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง จึงย้ายโรงพยาบาลที่รักษาไปเรื่อยๆ

การดำเนินโรค
อาการปวดแต่ละครั้งจะเป็นนานเป็นชั่วโมงๆ จนเป็นสัปดาห์ หรือแรมเดือน เมื่อได้รับการรักษาที่ ถูกต้องก็มักจะทุเลาไปได้ แต่เมื่อขาดการรักษา และ มีสิ่งกระตุ้นก็อาจกำเริบได้อีก จึงมักจะเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย

ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อย คือประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่ปวดศีรษะจะมีสาเหตุจากโรคนี้
พบได้ในคนทุกวัย เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว (มีโอกาสน้อยมากที่จะมีอาการครั้งแรกหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว) และพบมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5-2 เท่า

อาการ
ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ต่อเนื่องกันนานครั้งละ 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะปวดนานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนอาจปวดนานติดต่อกันทุกวันเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นแรมเดือนโดยที่อาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้นจากวันแรกๆ ที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นการปวดตื้อๆ หนักๆ พอรำคาญหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ส่วนมากที่อาจปวดรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือตาพร่าตาลาย และไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหว ของร่างกาย
อาการปวดศีรษะอาจเริ่มเป็นตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้าๆ บางคนอาจเริ่มปวดตอน บ่ายๆ เย็นๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมาก หรือขณะหิวข้าว หรือมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ

การดูแลตนเอง
เมื่อมีอาการปวดศีรษะเพียงเล็กน้อย ควรกินยาพาราเซตามอลบรรเทา 1-2 เม็ด นั่งพัก นอนพัก ใช้นิ้วบีบนวด
ควรไปปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง
  • มีอาการปวดมากตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น หรือปวดแรงขึ้นและนานขึ้นทุกวันl มีอาการเดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือ ชักกระตุก
  • มีอาการตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย
  • มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะ ดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น
  • มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะรักษาตนเอง

การป้องกัน
ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้กำเริบ โดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้หิว อย่าคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ออกกำลังเป็นประจำ หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ ถ้าจำเป็นควรกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ

ที่มาของข้อมูล http://www.doctor.or.th