212/9 Zentara City ถนนชาตะผดุง ในเมือง เมือง ขอนแก่น  Mon-Fri: 17:30-19:30 / Sat:9.00-13.00   063-8963595, 061-6541962

โรคอารมณ์แปรปรวน Bipolar

  • Home
  • โรคอารมณ์แปรปรวน Bipolar

โรคไบโพล่าร์เ

icon-bipolar300x300

โรคไบโพล่าร์เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดปกติของอารมณ์ โรคนี้มีหลายชื่อ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน, manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันซึ่งเป็นทางการคือ โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder) ลักษณะที่สำคัญของโรคนี้คืออาการผิดปกติของอารมร์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depressive) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (minia) ก็ได้

ขั้วอารมณ์ดีเกินเหตุ หรือ หงุดหงิดมาก
✔ 
มีอารมณ์ดีเกิน หรือ หงุดหงิดมาก
✔ เชื่อมั่นในตัวเองมากเกินปกติ รู้สึกว่าตัวเองเก่งกาจหรือมีความสำคัญยิ่งใหญ่
✔ ไม่อยากพักผ่อน
✔ มีกิจกรรมต่างๆเพิ่มมากขึ้น
✔ พูดมาก และบางครั้งพูดเร็วจนไม่สามารถขัดจังหวะได้
✔ ความคิดแล่นเร็ว คิดโครงการมากมายใหญ่โต
✔ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ เช่น ใช้จ่ายเงินมากผิดปกติ
✔ วอกแวกง่าย ไม่มีสมาธิ

อาการซึมเศร้า (depressive)อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในโรคไบโพล่าร์จะเหมือนกับอาการของโรคซึมเศร้า (major depressive disorder) ทุกประการคืออยู่ๆก็ป่วยก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ร้องให้ง่าย คิดแต่เรื่องร้ายๆ รู้สึกเศร้า ๆ ไม่แจ่มใส เบื่อหน่ายไปหมดทุกเรื่อง ไม่รู้สึกดีใจเวลามีอะไรดี ๆ เกิดขึ้น ไม่อยากได้อะไร ไม่มีความสุข เก็บเนื้อเก็บตัวไม่อยากพบหน้าใคร บางคนจะหงุดหงิด โมโหง่าย เบื่อชีวิต อยากตาย  บางคนถึงกับฆ่าตัวตาย มีอาการอยู่แทบทุกวันเป็นหลาย ๆ สัปดาห์ หรือเป็นเดือน ในชาวงซึมเศร้าผู้ป่วยมักรู้ว่าตนเองป่วย

อาการตรงข้ามกับซึมเศร้า (minia) เมื่อเกิดอาการตรงกันข้ามกับซึมเศร้าผู้ป่วยจะมีอารมณ์ดีผิดปกติ พูดมาก หัวเราะง่าย ชอบเข้าไปวุ่นวายเรื่องของคนอื่นจนบางครั้งเกิดเรื่องราว ใช้เงินเปลืองเพราะเห็นอะไรก็น่าซื้อไปหมดและก็จะซื้อทีละเยอะ ๆ ด้วย มีโครงการ 100 ล้าน 1000 พัน ผุดขึ้นมาเต็มหัว รู้สึกว่าตนเองเก่ง หล่อ สวย  หรือเป็นคนที่สำคัญผิดปกติ

ในช่วงที่ผู้ป่วยจะรู้สึกขยันขันแข็งอยากทำอะไรมากมายไปหมดและมีความต้องการที่จะนอนน้อยลง บางรายมีอารมณ์หงุดหงิดก้าวร้าวมาก ผู้ป่วยบางรายมีความต้องการทางเพศมาก บางรายมีอาการโรคจิตด้วยคือมีความหลงเชื่อผิด เช่นคิดว่าผู้ป่วยเป็นคนในอดีตกลับชาติมาเกิด หรือมีหูแว่วมาชมว่าผู้ป่วยหล่อจัง ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังป่วยและมักปฏิเสธการรักษา ผู้ป่วยในหลาย ๆ รายติดอกติดใจในความสุขที่เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าทำให้ไม่อยากกินยาเพราะกินแล้วไม่สนุก

อาการที่สำคัญที่จะบอกว่าผู้ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์คือจะต้องมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้า (mania)  อย่างน้อย 1 ครั้ง โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการซึมเศร้าเป็นบางครั้งร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ (รายที่เป็นทีไรก็ซึมเศร้าทุกทีไม่เคยมีอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าเลยนั้น เราจะถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าและได้รับการรักษาแบบโรคซึมเศร้า)  อย่างไรก็ดีผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าในช่วงหลังคลอดมักมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการตรงข้ามกับซึมเศร้าขึ้นในภายหลัง

โรคไบโพล่าร์นั้นมักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 แต่ก็มีบางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปีได้ โรคไบโพล่าร์เป็นโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องค่อนข้างมากโดยพบว่าเมื่อลองถามประวัติให้ดี ๆ มักจะพบว่าคนอื่นบางคนในวงศ์ญาติป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์ และลูกหลานของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มีโอกาสจะป่วยเป็นโรคไบโพล่าร์มากกว่าคนทั่วไป

ในปัจจุบันเชื่อว่าโรคไบโพล่าร์เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุลคือมีสารซิโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไปและสารนอร์เอปิเนฟริน (epienphrine) มากเกินไป ดังนั้นเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่กลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabillzers) , ยาแก้โรคจิต (antipsychotich) , และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)

ยาควบคุมอารมณ์ (mood stabillzers) ยากลุ่มนี้เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาทั้งในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าและอาการตรงกันข้ามกับซึมเศร้า และยังใช้ป้องกันการกลับมาเป็นใหม่ได้ด้วย

การรักษาด้วยยา
–ช่วยควบคุมอาการ ลดการกำเริบซ้ำ
–ใช้ยากลุ่มควบคุมอารมณ์
–ทั่วไป เริ่มตอบสนองต่อยา ต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป
–รับประทานยาต่อเนื่อง 6 เดือนขึ้นไป
–หากเป็น2ครั้งขึ้นไปต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันอย่างน้อย-ปีขึ้นไป
–ไม่ควรหยุดยาเอง